ทำไมต้อง eSports?

แชร์ข่าว
Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

นั่นสิ !!! ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่า ทำไมต้อง eSports

 

2014-international-dota-2-seattle-key-arena

 

ก่อนจะตอบคำถามนี้ คงต้องย้อนไปดูกันก่อน ว่า eSports เข้ามาในบ้านเราตั้งแต่เมื่อไหร่ ถ้าจะนับกันจริงๆ ก็คงย้อนกลับไปเมื่อปี 2543 ในปีนั้นได้มีการจัดการแข่งขัน eSports รายการแรกในเมืองไทย ที่นักกีฬาของเราได้เข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ แต่จากวันนั้นจนมาถึงวันนี้ วงการ eSports ไทย ก็คงยังล้มลุกคลุกคลาน ลุ่มๆ ดอนๆ กันมาตลอดระยะเวลานับสิบปี

เหตุผลที่ว่าทำไม eSports บ้านเราถึงยังไม่ก้าวหน้าเหมือนประเทศอื่นๆ ทั้งๆ ที่เด็กไทยของเรา นับได้ว่า เล่นเกมได้เก่งเป็นอันดับต้นๆ ประเด็นนี้คงมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง

ไม่ว่าจะเป็นมุมมองจากคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการเกม ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง พ่อแม่ผู้ปกครอง ที่มองเกมเป็นต้นเหตุของความก้าวร้าวรุนแรง มองเกมในแง่มุมสีเทา ทั้งๆ ที่หากทุกคนเปิดใจกว้าง และมองอย่างเป็นกลาง เกมไม่ได้มีข้อเสียมากมายอย่างที่ถูกกล่าวหา แต่เกมกลับมีข้อดีอยู่มากมาย ถ้าให้พูดถึงประเด็นนี้คงต้องเล่ากันยาวสามวันสามคืนไม่จบ

เรากลับมาที่ประเด็นคำถามของเราก่อน “ทำไมต้อง eSports”

 

esports event 01

คนเล่นเกมส์ อาจมีหลายประเภท

เล่นที่บ้านอย่างเดียว ชาตินี้ไม่เคยแวะ หรือไม่เคยแม้แต่จะคิดเข้าร้านเกมส์ (ไม่รู้กลัวอะไรเหมือนกัน)

เล่นที่ร้านอย่างเดียว เพราะบ้านไม่มีคอม หรือมีคอมก็ไม่แรงพอ เล่นไม่สะใจ (โวยวายในร้าน สะใจกว่า)

เล่นทั้งบ้าน ทั้งร้าน แล้วแต่จังหวะและโอกาส

 

เกมส์ออนไลน์ที่เปิดให้บริการ แต่ไหนแต่ไรมา ก็มีครบทุกประเภท

ไม่ว่าจะเป็นเกมเก็บเลเวล (MMORPG)

เกมแบบตั้งห้องไม่ว่าเป็นกีฬา หรือ ต่อสู้ (Casual)

เกมยิงหัวกัน (FPS)

แต่ที่ฮิตติดลมบนทุกวันนี้ ก็ต้องยกให้เกม MOBA ไม่ว่าจะเป็นรุ่นแรกๆ

อย่าง Dota ซึ่งตอนนี้ก็มี Dota 2 หรือเกมที่ฮิตในไทยแบบถล่มทลาย แต่ก็น่าแปลกที่ฮิตสลับขั้วกับทั่วโลก

HON ดังถล่มทลายในไทย แต่ ต่างประเทศไม่ดังมาก

LoL ต่างประเทศดังมาก แต่ในไทยก็พอควร

ก็นั่นสิ แล้ว “ทำไมต้อง eSports”

คงไม่มีคำตอบไหนผิดถูก แต่คงอยู่ที่มุมมอง ว่าจะมองในมิติไหน

eSports อาจจะเป็นกระแสที่ทำให้ทุกฝ่าย win-win

ผู้ให้บริการเกม ส่งเสริมเกมของค่ายตัวเอง จัดแข่ง มีกิจกรรมสนับสนุนให้มีการแข่งขัน ต่อยอดขึ้นไปในระดับสากล ถ้าเกมดัง ติดตลาดคนเล่นเยอะ รายได้ที่ผู้เล่นควักกระเป๋าซื้อไอเทมก็เยอะตามไปด้วย ก็ win

ผู้ประกอบการร้าน Internet Café ถ้าค่ายเกมสนับสนุน จัดแข่งเด็กเข้าร้านสม่ำเสมอ มีรายได้เพิ่ม ก็ win

Sponsor อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Hardware / Gaming gear ช่วยสนับสนุน มี Logo ติดเสื้อทีม เสื้อแข่งแบรนด์สินค้าติดตลาด สินค้าขายดี ก็ win

สังกัดนักกีฬามีทั้งที่ อยู่ภายใต้แบรนด์ของสินค้าและสังกัดอิสระ ถ้าน้ำเลี้ยงดี ดูแลดี นักกีฬาชนะการแข่งขันทั้งในประเทศ

และรายการใหญ่ในต่างประเทศได้ เงินทองก็ไหลมาเทมา ทั้งจากรางวัลการแข่งและจากสปอนเซอร์

ตัวผู้เล่นเอง ได้รับการสนับสนุนจาก Sponsor มีสังกัด มีค่าย ได้เงินถ้าขยันซ้อม แข่งชนะ ได้ทั้งชื่อเสียง ทั้งเงิน และอาชีพการงานในอนาคต ก็ win

นี่ยังไม่ได้รวมกระแส eSports fever ในส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน

ทั้งสื่อเองที่เปิดช่องทางการรับข่าวสาร เวปไซด์ สื่อสิ่งพิมพ์ หรือแม้แต่ ช่องทางการถ่ายทอดสดการแข่งขัน ที่ยอดวิวท่วมท้น

 

74779

 

อาชีพนักพากษ์เกม ที่นับวันจะโด่งดังและเป็นที่จับตามองจนบางคนกลายเป็น net idol กันไปเลยก็มี

เมื่อทุกฝ่าย win-win ธุรกิจเติบโต วงการเกม วงการ E-Sport ก็เติบโตพัฒนาไปด้วยอย่างต่อเนื่อง นั่นแหละ ซึ่งนั่นก็คงเป็นเป้าหมายลักที่ทุกฝ่ายต้องการ

วงจรเดิมๆ ของการทำการตลาดเกมออนไลน์สักเกม ไม่ว่าจะเป็นเกมประเภทไหนก็ตามที่ทำแค่ โหมกระแส เปิดตัว

แจกของพยายามดึงจำนวนผู่เล่นให้ได้มากที่สุด เปิดชอปขายของ พยายามรักษาจำนวนผู้เล่นด้วยเนื้อหาและการ Update Patch ให้ทัน(เพราะ gamer ไทยเล่นเกมเร็วที่สุดในโลก ควรจะภูมิใจดีไหมนี่)

ลากยาวไปจนถึงเกมปิด วงจรนี้คงถึงกาลปรับเปลี่ยน

เกมไหน eSports ได้ ก็ eSports กันไป

เกมไหน eSports ไม่ได้ ก็ต้องพยายามทำการตลาดให้อยู่รอดให้ได้

ท่ามกลางกระแส eSports Fever

สุดท้าย ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร

 

esports event 02

“วันนี้ คุณเล่น eSports แล้วหรือยัง?” 😀

 

 

> เว็บไซต์เดิมพันออนไลน์ชั้นนำ Dafabet เปิดให้คุณเดิมพัน eSports ได้แล้ววันนี้ คลิกเลย <