ทำไมคนดูอีสปอร์ต (หลายคน) ไม่ชอบ ROV

ทำไมคนดูอีสปอร์ต (หลายคน) ไม่ชอบ ROV
แชร์ข่าว
Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

ช่วงเวลานี้ RoV หรือ Arena of Valor ถือเป็นเกมอีสปอร์ตที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในประเทศไทยแบบไร้คู่แข่ง แต่ที่ยังกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบในหมู่ผู้ชมอีสปอร์ตไทย เลยหยิบยกเหตุผลหลักทั้ง 10 ข้อมาอธิบายให้ฟังกันว่า “ทำไมหลายคนถึงไม่ยกให้ RoV เป็นอีกสปอร์ต”

1.เป็นที่นิยมเกินไป
ด้วยกระแสความฮิตติดลมบนหลายคนเลยได้มีโอกาสเห็นเกมนี้ไปอยู่แทบจะทุกสื่อในประเทศไทย ทั้งในสื่อกระแสหลัก รายการทีวี นักร้อง ดารา และคนดังจากสายต่างๆ ล้วนพูดถึงแต่เกมนี้ ผลที่ตามมาคือเกมดังเป็นพลุแตก แต่ในอีกแง่มันก็เป็นการดึงดูดผู้เล่นสายบันเทิงที่ไม่สนใจอีสปอร์ตจำนวนมากเข้าสู่วงจรของเกม

2.สมดุลวายป่วง

แฟนเกมอีสปอร์ตหลายคนคงทราบดีว่าจุดเด่นของเกมแนว MOBA คือ ความสมดุลของฮีโร่ที่ไม่มีตัวที่โดดเด่นจนเกินไป แต่ทุกตัวสามารถหยิบขึ้นมาเล่นแก้เกมกันได้เสมอ ขณะเดียวกันคำว่า “สมดุล” กลับไม่เคยปรากฏให้ผู้เล่น RoV ได้เห็นอย่างจริงจัง แม้จะมีการอัพเดตหลายครั้งต่อหลายครั้งแล้วก็ตาม ฮีโร่ที่ได้รับความนิยมยังไงก็ยัง OP อยู่เอย่างงั้น ส่วนฮีโร่ที่ไม่มีใครหยิบมาใช้แข่งก็ยังถูกมองข้ามเช่นเดิม

3.ข้อจำกัดของสายฟรี

โดยทั่วไปแล้วรูปแบบของเกมอีสปอร์ตจะมีอยู่ 2 ประเภท 1.เปิดให้เล่นตัวละครทั้งหมดได้ฟรี แต่มีการเปิดขายสกินหรือไอเทมตกแต่งตัวละคร 2.ต้องปลดล็อคตัวละคร แต่มีทางเลือกให้ผู้เล่นสามารถหาเงินในเกมมาใช้ซื้อตัวละครได้โดยไม่มีข้อจำกัด แต่ RoV คล้ายแบบหลัง แต่ดันมีระบบเพดานจำกัดการหาเงินในเกมของผู้เล่น ทำให้ผู้เล่นสายฟรีมีความยากลำบากในการสรรหาเงินมาใช้สอยซื้อหาฮีโร่และรูนมาไว้ใช้งาน

4.ดังแค่ในไทย

เหตุผลคลาสสิคที่พรรคฝ่ายค้าน (เกม RoV) มักหยิบยกขึ้นมาง้างความดีความชอบของเกมนี้อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงที่เกมนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในไทยทั้งในแง่จำนวนผู้เล่น ผู้ชม เงินรางวัล และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง แต่ท้ายที่สุดความเป็นอีสปอร์ตระดับโลกจำเป็นจะต้องได้รับการยอมรับจากสากล ซึ่ง Tencent ยักษ์ใหญ่เจ้าของลิขสิทธิ์เกมตระหนักถึงข้อจำกัดนี้ และมีการจัดแข่งขัน Arena of Valor World Cup ที่มีเงินรางวัลเกือบ 20 ล้านบาท เพื่อดึงดูดทีมดังทั่วโลกให้หันมาแข่ง RoV

5.มีอคติกับค่ายเกม

เหตุผลข้อสุดท้ายมาจากภาพจำที่หลายคนมองว่า ค่ายผู้ให้บริการเกม RoV มักมีรูปแบบการตลาดที่เน้นแสวงหาผลกำไร โดยมองข้ามรายละเอียดว่า ความจริงแล้วค่ายผู้ให้บริการรายนี้ก็มีส่วนในการผลักดันให้อีสปอร์ตเติบโตในไทยเช่นกัน